****กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เร่งผลักดันโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ผ่านนักปกครองท้องที่ ผู้เป็นด่านหน้าในการพัฒนาเพื่อส่วนรวม****
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมนำแนวพระดำริเรื่อง “หมู่บ้านยั่งยืน” (Sustainable Village) ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มาดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมทั้งขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ภายใต้เป้าหมายการสร้างความยั่งยืนให้ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองของประชาชนในหมู่บ้าน
นักปกครองท้องที่ เข้าใจ พัฒนา ยั่งยืน ด้วยปณิธานของนักปกครองท้องที่ในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่พี่น้องประชาชน “กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดประชาชนในพื้นที่มากที่สุด จึงมีความเข้าใจในปัญหา ศักยภาพ และบริบทของพื้นที่ เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน สร้างความเข้มแข็งจากฐานรากให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืน คือ “ผู้นำ” ที่มี “ใจ” ในการทำงาน โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ 7 ภาคีเครือข่าย (ภาครัฐ ภาคศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคสื่อสารมวลชน และภาคประชาชน) ได้บูรณาการการทำงานสร้างทีมหมู่บ้านขึ้นมาเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยบ้านนา หมู่ที่ 6 ตำบลเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และบ้านคำประมง หมู่ที่ 4 ตำบลสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ถือเป็นต้นแบบที่ได้ถูกนำมาถ่ายทอดเรื่องราวความสำเร็จในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่จนพัฒนาไปสู่การเป็นหมู่บ้านยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความมั่นคงทางอาหารจากการปลูกผักแบ่งปัน อีกหนึ่งมิติของหมู่บ้านยั่งยืน
นักปกครองท้องที่ เข้าใจ พัฒนา ยั่งยืน ด้วยปณิธานของนักปกครองท้องที่ในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่พี่น้องประชาชน “กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดประชาชนในพื้นที่มากที่สุด จึงมีความเข้าใจในปัญหา ศักยภาพ และบริบทของพื้นที่ เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน สร้างความเข้มแข็งจากฐานรากให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืน คือ “ผู้นำ” ที่มี “ใจ” ในการทำงาน โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ 7 ภาคีเครือข่าย (ภาครัฐ ภาคศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคสื่อสารมวลชน และภาคประชาชน) ได้บูรณาการการทำงานสร้างทีมหมู่บ้านขึ้นมาเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยบ้านนา หมู่ที่ 6 ตำบลเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และบ้านคำประมง หมู่ที่ 4 ตำบลสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ถือเป็นต้นแบบที่ได้ถูกนำมาถ่ายทอดเรื่องราวความสำเร็จในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่จนพัฒนาไปสู่การเป็นหมู่บ้านยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความมั่นคงทางอาหารจากการปลูกผักแบ่งปัน อีกหนึ่งมิติของหมู่บ้านยั่งยืน
คุณขวัญเรียม รินถา ผู้ใหญ่บ้าน บ้านนา หมู่ที่ 6 ตำบลเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ได้น้อมนำพระดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาประยุกต์ใช้ทั้งในเรื่องบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง และทางนี้มีผลผู้คนรักกัน เป็นการปลูกผักริมรั้วริมทางที่อนุญาตให้คนอื่นเก็บเอาไปกิน หรือนำไปแลกเปลี่ยนกัน พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการเพาะปลูกผักสวนครัวอย่างถูกวิธี เรียนรู้ด้านการทำเกษตรกรรมให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านสามารถแบ่งปันผักจากสวนครัวของตนกับเพื่อนบ้านได้ ทำให้ทุกคนมีแหล่งอาหารสำหรับบริโภคโดยไม่ขาดแคลนตลอดทั้งปี และสามารถเข้าถึงแหล่งอาหารได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งการสร้างความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืนนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย รวมไปถึงคณะกรรมการหมู่บ้านที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน และด้วยความร่วมมือร่วมใจกันทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีภายในหมู่บ้านอันเป็นต้นทุนสำคัญในการนำพาหมู่บ้านไปสู่หมู่บ้านยั่งยืนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริงในมิติอื่น ๆ ต่อไป
จาก “ดอนกอยโมเดล” สู่หมู่บ้านยั่งยืนคำประมง คุณไพวรรณ์ ทิลารักษ์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านคำประมง หมู่ที่ 4 ตำบลสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ได้รับแรงบันดาลใจ ของการพัฒนากลุ่มทอผ้าครามบ้านคำประมง มาจากความสำเร็จของบ้านดอนกอย หรือ ดอนกอยโมเดล ซึ่งเป็นโครงการกลุ่มผ้าทอย้อมครามต้นแบบ ในอำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร นำมาประยุกต์ให้เข้ากับต้นทุนที่มีอยู่เดิมในเรื่องความชำนาญในการทอผ้าของชาวบ้าน ทำให้ผ้าย้อมครามของบ้านคําประมงมีความโดดเด่นในเรื่องสีสันที่หลากหลาย ดูสวยงามแปลกตา และมีเอกลักษณ์ สามารถสร้างรายได้เฉลี่ยของหมู่บ้านเพิ่มจากเดิม 40,000 บาท มาเป็น 50,000 บาท โดยบ้านคำประมงได้คว้ารางวัลการประกวดระดับจังหวัดมาหลายต่อหลายครั้ง แต่สิ่งที่มากกว่าการได้รับรางวัลคือการที่หมู่บ้านได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนจากความร่วมมือของทุกคนในหมู่บ้าน
หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน จากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ทั้ง 2 ท่านข้างต้น ทำให้เห็นว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีความสำคัญต่อการพัฒนาหมู่บ้านเป็นอย่างมาก และยังถือว่าเป็นนักปกครองท้องที่ผู้เป็นด่านหน้าในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เพื่อส่วนรวม โดยหมู่บ้านตัวอย่างทั้งบ้านนาและบ้านคำประมง นับเป็นต้นแบบความสำเร็จในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่จนสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นหมู่บ้านยั่งยืน สามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างในการขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และทำให้ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืนต่อไป
No comments:
Post a Comment